พิพิธภัณฑ์อาร์เมอร์รี่
(State Armoury Museum)
มีประวัติความเป็นมาเก่าแก่ที่สุด ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2051 สำหรับอาคารพิพิธภัณฑ์ในปัจจุบัน สร้างโดยพระเจ้าชาร์นิโคลัสที่ 1 ในปี พ.ศ. 2387 ออกแบบโดย Knostantin Ton จากเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก เสร็จสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2394 เป็นอาคาร 2 ชั้น ชั้นล่าง 4 ห้อง ชั้นบนมี 5 ห้อง จัดแสดงไว้ในตู้รวม 55 ตู้ มีโบราณวัตถุอันล้ำค่าประมาณ 4,000 กว่าชิ้น
พิพิธภัณฑ์อาร์เมอรี่ตั้งอยู่อยู่ในเขตพระราชวังเครมลิน สิ่งที่ไม่ควรพลาดชม ได้แก่ มงกุฏทองคำของราชวงศ์โมโนมาคจักรพรรดิคอนสแตนติน โมโนมาคได้พระราชทานมงกุฎนี้ให้กับเจ้าชายวลาดิมีร์ โมโนมาค (Vladimir Monomakh) เมื่อราว 700 ปีเศษ มาแล้ว สวยงามมาก ทำจากทองคำ ประดับด้วยขนเสือ เซเบิล (Sable) และอัญมณีล้ำค่าต่างๆ มากมาย และได้ใช้ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกจนถึงปี พ.ศ. 2225
ชุดฉลองพระองค์ในงนพิธีบรมราชาภิเษกของพระนางแคเธอรีน สวยงามล้ำค่าที่สุด ปักด้วยดิ้นทองเป็นรูปเหยี่ยว 2 หัวตลอดทั้งชุด ทำขึ้นในปี พ.ศ. 2305 คฑาพระนางแคเธอรีนมหาราช (Sceptre of Catherine the Great) ประดับด้วยเพชรโอร์ลอฟ (Orlov) จากอินเดีย เป็นของขวัญจากคนรักของพระนางคือ เคาต์ไกรกอรี่ โอร์ลอฟ (Grigori Orlov)
มงกุฎพระราชินีแคเธอรีน (Catherine’s Imperial Crown) ประกอบด้วยอัญมณีประมาณ 5,000 ชิ้น พร้อมด้วยเพชรชาห์ (Shah) ที่ชาหื มิร์ซา (Shah Mirza) นำมาถวายพระเจ้าชาร์นิโคลัสที่ 1 บัลลังกืเพชร (Diamond Throne) ทำในเปอร์เซียเมื่อปี พ.ศ. 2202 โดยบริษัทการค้าอาร์มีเนียน เพื่อถวายแด่พระเจ้าชาร์อเล็กซิส (Alexis) เป็นราชบัลลังก์ที่มีมูลค่ามากที่สุด ทำขึ้นด้วยความประณีต ตกแต่งด้วยเพชรนิลจินดาและหินเทอร์คอยส์
กล่องดนตรีรูปไข่ฟาแบร์เช่ (Faberage Eggs) ทำขึ้นในปี พ.ศ. 2447 ที่เมืองเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก โดยฝีมือศิลปินตระกูลที่มีชื่อเสียงที่สุด เรียกว่า “ฟาแบร์เช่” เป็นรูปร่างหอคอยใหญ่รุปไข่ ล้อมรอบด้วยหอคอยวังเคลมลิน สามารถสรุปเป็นชั้นต่างๆ ได้ดังนี้
- ชั้นหนึ่ง ห้องที่ 1-5 จัดแสดงเครื่องเงิน เครื่องทอง อาวุธ เสื้อเกราะ หมวก ดาบ ปืน หอก งาช้าง เครื่องกระเบื้อง ของขวัญจากทูตประเทศต่างๆ
- ชั้นใต้ดิน ห้องที่ 6-9 จัดแสดงเครื่องทรงของพระเจ้าซาร์พระราชินีซารีน่า เครื่องราชกกุธภัณฑ์ ราชบัลลังก์ ราชรถและรถลากเลื่อนน้ำแข็ง
พิพิธภัณฑ์อาร์เมอรี่ เปิดให้นักท่องเที่ยวที่มาทัวร์รัสเซีย หรือ เที่ยวรัสเซียเปิดเข้าชมทุกวัน เวลา 10.00-16.30 น. ปิดวันพฤหัสบดี ภายในพิพิธภัณฑ์ห้ามถ่ายวิดิโอและถ่ายรูป